วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2565

หอศิลป์เพลิง วัตสาร

วันนี้ (22 มีนาคม 2565) นายจริยาทร สูหู่ ผอ.ททท.สำนักงานเลย ได้เยี่ยมชมผลงานนิทรรศการจิตรกรรม พร้อมหารือแนวคิดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงในพื้นที่ และเส้นทางท่องเที่ยวทางศิลปะเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) 
การออกแบบ Landmark เมืองหนองบัว ณ หอศิลป์เพลิง วัตสาร ของคุณเพลิง วัตสาร ศิลปินอิสระสาขาจิตรกรรมไทยร่วมสมัย และได้เป็นศิลปินสาขาทัศนศิลป์ จากกระทรวงวัฒนธรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู  ณ บ้านนาคำไฮ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
 

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565

เที่ยวนี้สุขใจ วิถีใหม่ที่ชัยนาท

ระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2565 
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานลพบุรี โดยนางสาวนงนุช สุวรรณรักษ์ รองผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลพบุรี ผู้รับผิดชอบโครงการ เที่ยวนี้สุขใจ วิถีใหม่ที่ชัยนาท เดินทางปฏิบัติงาน จัดกิจกรรมเสนอขาย ร่วมกับพันธมิตร (บริษัท 12 ทราเวล 21 จำกัด) เส้นทาง เที่ยวใกล้ เที่ยวง่าย ปลอดภัย คลายเครียด แก่กลุ่มเป้าหมาย (วัยทำงาน ครอบครัว) นักท่องเที่ยวเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
 ตามเส้นทางที่ ททท.สำนักงานลพบุรี นำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชิงศาสนาแหล่งท่องเที่ยว Unseen New Series :วัดป่าสัก และสินค้าบริการทางการท่องเที่ยวเมืองที่ได้รับมาตรฐาน SHA : ที่พัก ร้านอาหารฯ และกิจกรรท่องเที่ยวเชิงเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farmer) ในจังหวัดชัยนาท จำนวน 200 Pax 
เพื่อกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างสมดุล และส่งเสริมการท่องเที่ยวพื้นที่เมืองรองตามอัตลักษณ์พื้นที่ พร้อมร่วมงานมหกรรมหุ่นฟางนก ของดีศรีท้องถิ่น จังหวัดชัยนาท ครั้งที่ 37 ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 11-20 มีนาคม 2565 ณ บริเวณสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ และเขื่อนเรียงหินหน้าศาลากลางจังหวัดชัยนาท ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ยึดหลัก D-M-H-T-T เพื่อความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของนักท่องเที่ยว

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2565

“เที่ยวใกล้ นอนสบาย ไม่ตกเทรน”

เพียงเดินทางเข้าพักในโรงแรมที่เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และจังหวัดชัยนาท นักท่องเที่ยวสามารถลงทะเบียนผ่าน QR Code รับทันที คูปองส่วนลดค่าที่พักมูลค่า 200 บาท ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม - 31 พฤษภาคม 2565 นี้ จำกัดสิทธิ์เพียงแค่ 200 สิทธิ์ เท่านั้น!! 

เงื่อนไข
- เข้าพักในโรงแรมที่เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่จ.ลพบุรี และจ.ชัยนาท
- ลงทะเบียนผ่าน QR Code เมื่อเข้าพักในโรงแรม
- รับส่วนลด ค่าที่พักมูลค่า 200 บาท/ 1 คน / 1 สิทธิ์
- ใช้สิทธิ์ร่วมกับโรงแรมที่ผ่านมาตรฐาน SHA / SHA PLUS ที่เข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น

🧳🏨 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
     Facebook: TAT Lopburi 
📞036 770 096-7 
#เที่ยวใกล้นอนสบายไม่ตกเทรน
#amazingthailand
#TATLopburi #ทททลพบุรี
#SHA #SHAPLUS #SHAลพบุรี #SHAชัยนาท #ตะลอนไปทั่ว #ชมรมสื่อมวลชนส่งเสริมการท่องเที่ยว

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2565

วิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับสถานีวิทยุจุฬาฯจัดโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 3 “Make It Balance: มั่นคงรอบด้าน อาหาร-น้ำ-พลังงาน”



วันนี้ (15 มีนาคม 2565) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าวโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน ณ บริเวณลานเซ็นเตอร์ ฮอลล์ ชั้น G ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ภายในงาน มีการเสวนา หัวข้อ “Make it balance มั่นคงรอบด้านอาหารน้ำพลังงาน” 

โดย ผศ. ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.ทวีศักดิ์ บรรลือสินธุ์ กรรมการบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
คุณนภัสจิรา อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายความยั่งยืนองค์กร Lotus’s
คุณพินทุ์สุดา เปี่ยมปิติ ผู้จัดการส่วนกิจกรรมองค์กรและสังคม บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
ดำเนินรายการ โดย ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ผู้อำนวยการโครงการ Industrial Liaison Program  
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศาสตราจารย์ 


ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 อยู่นั้น ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบทางลบอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยทรัพยากรธรรมมีความหลากหลาย และเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วน ดังนั้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติจึงมีความสลับซับซ้อน ไม่ได้พิจารณามิติใดมิตหนึ่งเพียงมิติเดียว เมื่อเกิดการใช้ประโยชน์หรือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรอาหาร น้ำ และพลังงาน จึงเป็นที่มาของแนวคิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างอาหาร-น้ำ-พลังงาน (food-water-energy nexus)
 ซึ่งล้วนแต่เป็นทรัพยากรหลักที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น โดยแนวคิดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร น้ำ และพลังงานของประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างยั่งยืน การเปิดโอกาสให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ Envi Mission 
ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ จะเป็นการขยายผลการดำเนินงานไปสู่ระดับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ด้วยการสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียน เสริมสร้างให้เยาวชนมีความเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง อันนำไปสู่การสร้างความรู้สู่สังคม และการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม อันเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการส่งมอบนวัตกรรมสู่สังคมสู่ความยั่งยืน และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต



ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นโครงการที่จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการนี้ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว ภายใต้หัวข้อ “Make It Balance: มั่นคงรอบด้าน อาหาร-น้ำ-พลังงาน” โดยมีเป้าหมายเพื่อปลูกฝังแนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อมให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนของตนเองผ่านการทำโครงงานนวัตกรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อม เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม จะได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเรียนรู้แนวคิดการจัดการทรัพยากรอย่างเชื่อมโยงกัน สร้างความมั่นคงด้านอาหาร น้ำ และพลังงาน และได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาโครงการให้สามารถนำไปใช้ได้จริง นอกจากนี้เรายังเปิดโอกาสให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมไปต่อยอดผ่านการทำโครงงานการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่อีกด้วยนักเรียนที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้จนถึงวันที่ 20 เมษายนนี้


ด้าน นายวิศาล สิปิยารักษ์ รองกรรมการผู้อำนวยการสายบริหารพื้นที่เช่าและผู้เช่าสัมพันธ์ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายการตลาดบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า “ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนพื้นที่จัดกิจกรรมการศึกษาของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกิจกรรมของสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งนี้และทุก ๆ กิจกรรม ซึ่งเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ถือเป็นนโยบายหลักสนับสนุนด้านการศึกษา โดยเฉพาะกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งการจัดงานแถลงข่าวโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ยังเกี่ยวข้องกับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งตรงกับพันธกิจหลักด้าน CSR ที่ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ได้รณรงค์ด้านการดูแลรักษาทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้านหนึ่งด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมภายในศูนย์การค้าฯ สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน และลดการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนอยู่เสมอ”

รูปแบบโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 3
“Make It Balance: มั่นคงรอบด้าน อาหาร-น้ำ-พลังงาน”
จากพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีกระบวนการคิดและความยั่งยืน อีกทั้งส่งเสริมความร่วมมือในการขับเคลื่อนสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยการบูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกันจัดโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาจากทั่วประเทศ ผ่านกิจกรรมที่เสริมสร้างแนวคิดเชิงบูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้นำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในชีวิตจริง ผ่านการทำโครงงานการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ท้องถิ่นของตนเอง อันเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอีกด้วย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “Make It Balance: มั่นคงรอบด้าน อาหาร-น้ำ-พลังงาน” สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ เกี่ยวกับสภาพปัญหา ความสำคัญ และแนวทางการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร น้ำ และพลังงาน ตามบริบททางสิ่งแวดล้อม และสังคม-วัฒนธรรมของประเทศไทย ให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
โครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 3 นี้มีกิจกรรมการจัดประกวดการแข่งขันแนวคิดริเริ่ม และการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ในมิติความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างอาหาร-น้ำ-พลังงาน (food-water-energy nexus) โดยรับสมัครเป็นทีม ในแต่ละทีมประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 5 คน โดยสามารถส่งใบสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันพุธที่ 20 เมษายน 2565 
จากนั้นคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 30 ทีม โดยพิจารณาจากการตอบคำถามในใบสมัครเป็นสำคัญ ทั้ง 30 ทีมที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการฯ ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน และหากทั้ง 30 ทีมนี้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการฯ จะได้รับเงินสนับสนุนการดำเนินโครงงานการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ท้องถิ่นของตนเอง ทีมละ 5,000 บาท 

หลักจากการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการฯ คณะกรรมการจะทำการคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จำนวน 
10 ทีม เพื่อเข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (final pitching) ด้วยการนำเสนอผลการดำเนินโครงงานด้วยปากเปล่า (oral presentation) และทีมที่ชนะการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จะได้รับเงินรางวัล และโล่เกียรติยศ รวมมูลค่ากว่า 70,000 บาท
นักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถอ่านรายละเอียดขั้นตอนการรับสมัคร และดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.curadio.chula.ac.th สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อส่วนงานสื่อสารองค์กร สถานีวิทยุจุฬาฯ โทร. 
0-2218-3970-74 ต่อ 102-103 หรือ 081-989-7956

วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565

"รักษ์พงษ์" ลุยกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 4,000 ล้านบาทเชื่อมบล็อกเชนจากชุมชนเมือง สู่ หมู่บ้าน สร้างต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล


      
วันที่ 11 มี.ค. 65 นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ประธานมูลนิธิรวมพัฒน์ และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงสนับสนุนการสร้างต้นแบบระบบเหรียญดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนจากชุมชนเมืองสู่หมู่บ้าน โดยมี สินทรัพย์พร้อมใช้งาน 
เป็นอสังหาริมทรัพย์ มูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งพัฒนา โดย นายธนกฤช โชควรทรัพย์ ประธาน 
บริษัท เอ.ดี เฮ้าส์ จำกัด อันมีความพร้อมให้บริการมากกว่า 1,000 ยูนิต ในเมืองท่องเที่ยวจำนวนมากทั้งใน พัทยา ชะอำ และหัวหิน เป็นต้น ร่วมกับ ผู้พัฒนานวัตกรรมดิจิทัลโทเคน นายธนภัทร บัวลอย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบทเทอร์ดู จำกัด เจ้าของสิทธิบัตรระบบจัดการข้อมูลการทำงานร่วมกันด้วยโทเคน BETTERpoint 
และ ระบบ Community Service Tokenize ที่จะช่วยสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในระบบเหรียญดิจิทัล 
โดย มูลนิธิรวมพัฒน์ จะเป็นผู้สนับสนุนการศึกษาและออกแบบ Tokenomic ที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เหรียญดิจิทัลนี้เกิดมูลค่าแท้จริงทั้งในระบบเศรษฐกิจเชิงกายภาพ 
และ ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจะก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน อันมีทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนในระบบนิเวศน์ของเหรียญดิจิทัลนี้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาหลักของวิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีผู้ผลิตล้นระบบ 
แต่ผู้บริโภคขาดกำลัง จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจชะงักชะงันขาดสภาพคล่อง จนไม่เกิดการหมุนเวียน หากปล่อยไว้อาจทำให้เศรษฐกิจของไทยเข้าสู่สภาวะวิกฤติจนยากจะฟื้นตัว เนื่องจากเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยต้องหยุดชะงักไปหลายภาคส่วนตั้งแต่เหตุสงครามการค้าโลก ตลอดจนสภาวะโรคระบาด จนมาถึงสถานะหนี้ท่วมโลก โดยอัตราหนี้ครัวเรือนของคนไทยสูงจนใกล้กับปริมาณรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของคนทั้งประเทศแล้วตอนนี้
นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ หรือ พี่เปิ้น กล่าวว่า "จากประสบการณ์ทำงานพัฒนาชุมชนเมืองและหมู่บ้าน
ของตนตลอดสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้พบว่าชุมชนในเมืองใหญ่ และหมู่บ้านในต่างจังหวัด ได้ถูกแบ่งแยก
และขาดการเชื่อมโยงกันจากกลไกต่าง ๆ ในอดีต จนทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยถูกผูกขาดและควบคุม
โดยตัวกลางในหลายมิติ แต่หากเราได้ลองไปสำรวจในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ จะพบว่าภาคใต้มีปลา ภาคกลาง
มีข้าว ภาคเหนือมีภูเขา ภาคตะวันออกมีทะเล ภาคอิสานมีพื้นที่ราบใหญ่ ซึ่งทุกพื้นที่ของประเทศต่างมีสินทรัพย์
ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพของคนไทยอยู่อย่างมากมายและเหลือล้น แต่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันโดยตรงได้ 
เพียงเพราะขาดเงินที่เป็นสื่อกลาง จึงทำให้ต้องเกิดการกู้หนี้ยืมเงินมาเพื่อนำไปลงทุน ซึ่งต้องเสียดอกเบี้ย
จำนวนมากและหมดอำนาจต่อรองทางธุรกิจลง จนไม่สามารถแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้เพราะขนาดธุรกิจที่เล็กกว่ารายใหญ่หรือพ่อค้าคนกลาง และต้นทุนทางการเงินหรือดอกเบี้ยที่แพงกว่าบริษัทใหญ่
หรือนายทุน การนำเทคโนโลยีบล็อคเชนที่พร้อมใช้แล้วในปัจจุบัน มาเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้เงินได้ไหลจากผู้คนจากชุมชนเมืองไปสู่หมู่บ้านในต่างจังหวัด แล้วไหลกลับจากผู้คนในหมู่บ้านต่างจังหวัดมาสู่ชุมชนเมืองเป็นวัฎจักรที่หมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าในตนเองได้อย่างมั่นคง
และยั่งยืน โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง อันเป็นการกระจายอำนาจและประชาธิปไตยอย่างแท้จริง"
ดร.ชนิญญา ชัยสุวรรณ รองประธานมูลนิธิรวมพัฒน์ กล่าวเสริมว่า "การลงนามบันทึกข้อตกลงสนับสนุนการสร้างต้นแบบฯ ในวันนี้ นับเป็นนิมิตรหมายอันดีในการศึกษาและพัฒนาด้านกฎหมายของประเทศด้วย เนื่องจากเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเป็นเรื่องที่ยังใหม่มากในระดับโลก โดยนานาประเทศยังอยู่ระหว่างการหา
จุดเหมาะสมเพื่อนำมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจในรัฐของตน การหาสมดุลระหว่างการส่งเสริมและกำกับด้วยกฎหมายของรัฐ ด้วยการต่อยอดพัฒนาต้นแบบฯบนฐานกฎหมายเดิมจะทำให้เกิดการพัฒนาที่สร้างการยอมรับ
และความเข้าใจได้ในวงกว้าง จนเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับนำไปสู่การพัฒนาที่ก้าวกระโดดได้โดยง่าย 
ซึ่งจากประสบการณ์ในการเป็นอดีตอธิบดีอัยการยาเสพติด และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข 
อันได้มีส่วนร่วมในการศึกษาและขับเคลื่อนการปลดล็อคกฎหมายกัญชาและกระท่อม พบว่าการปลดล็อคศักยภาพการใช้งานของสินทรัพย์ต่าง ๆ จะก่อให้เกิดมูลค่าหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและประชาชนได้อย่างหลายเท่าทวีคูณ

 ซึ่งการสร้างต้นแบบฯทางกฎหมายในครั้งนี้ จะช่วยปลดล็อคและเป็นต้นแบบการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมา
ใช้งานให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจหมุนเวียนระหว่างชุมชนเมืองและหมู่บ้านในหลายพื้นที่ของประเทศ 
จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ อัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นหรือพื้นที่ เช่น สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ตลอดจนภูมิปัญญาไทย อันนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนของประชาชน
ได้เป็นอย่างดี"
นายธนกฤช โชควรทรัพย์ ประธาน บริษัท เอ.ดี เฮ้าส์ จำกัด กล่าวว่า "ADH ได้ดำเนินการ
และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในการขึ้นเป็นผู้นำการสร้างคอนโดเพื่อสร้างความคุ้มค่าให้กับผู้ลงทุนและผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 โดย ADH ได้ออกแบบและก่อสร้างพร้อมรองรับกลุ่มเป้าหมายตามมาตรฐานสากล 
ในทำเลยอดนิยมต่าง ๆ ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น พัทยา ชะอำ หรือ หัวหิน โดยปัจจุบันมีความพร้อมเข้าอยู่อาศัยแล้ว กว่า 1,000 ยูนิต มูลค่ารวมกว่า 4,000 ล้านบาท แต่ด้วยแนวโน้มที่เปลี่ยนไปของเศรษฐกิจจากเดิมที่ไทยเติบโตได้ โดยอาศัยการเติบโตของเศรษฐกิจโลก แต่จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และสภาวะ Deglobalization ในปัจจุบัน ทำให้ทุกประเทศต้องมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศ

ซึ่งธุรกิจภาคอสังหาก็ต้องเร่งปรับรูปแบบการสร้างความคุ้มค่าให้กับลูกค้าของ ADH เพิ่มมากขึ้นให้สอดรับกับระบบเศรษฐกิจใหม่ ทาง ADH จึงให้ความสำคัญกับความร่วมมือในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดทั้งเศรษฐกิจแบ่งปันและหมุนเวียน(Sharing & Circular Economy) อันจะช่วยสร้างประโยชน์อย่างสูงสุดให้กับลูกค้าของเราที่เป็นทั้งผู้ลงทุนและผู้อยู่อาศัย ตลอดจนระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอีกด้วยหากความร่วมมือนี้ได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้น"
นายธนภัทร บัวลอย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบทเทอร์ดู จำกัด กล่าวว่า "บริษัทฯ มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นการนำบล็อคเชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจในตลาดหลักอย่างแท้จริงมากกว่าเป็นแค่การเก็งกำไรในตลาดรอง โดยได้พัฒนาขึ้นมาจนสามารถยื่นจดสิทธิบัตรระบบจัดการข้อมูลการทำงานร่วมกันด้วยโทเคน BETTERpoint และ ระบบ Community Service Tokenize ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือของโครงการนี้ให้บรรลุเป้าหมายจนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ลงทุน ผู้อยู่อาศัย ตลอดจนเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมได้อย่างแน่นอน"

ทั้งนี้ จากประวัติของ "พี่เปิ้น" นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ พบว่าเป็นนักพัฒนาชุมชนและหมู่บ้านคนสำคัญของประเทศที่ทำงานมาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องกว่าสามสิบปี อีกทั้งยังเป็นบุคคลสำคัญที่เข้าร่วมการเปิดตัวพรรคสร้างอนาคตไทย และเป็นผู้ที่อยู่ข้างกาย ดร.สมคิดฯ ขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของไทย มาตลอดกว่า
ฝสามสิบปี 
โดยผลงานล่าสุดได้ถูกส่งให้ไปเตรียมงานฟื้นเศรษฐกิจฐานรากที่กองทุนหมู่บ้านฯ แม้มีโอกาสได้ทำงานเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็ได้เริ่มต้นการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนระหว่างหมู่บ้านด้วยการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน (Barter Trade) ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยหมู่บ้าน การขายสินค้าหมู่บ้านออนไลน์ และกิจกรรมต่างๆอีกมากมาย ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนระหว่าง 80,000 หมู่บ้าน ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

============================