วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ททท.สำนักงานสมุทรสงคราม l ขอเชิญร่วมงาน “ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร ประจำปี 2565”

ททท.สำนักงานสมุทรสงคราม l ขอเชิญร่วมงาน “ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร ประจำปี 2565”

ในวันที่ 5 - 9 มิถุนายน 2565 ณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร และบริเวณสวนสุขภาพเทศบาลนครสมุทรสาคร ต.มหาชัย อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร
กิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้  
1. วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565  เวลา 09.00 น. พิธีเปิดงาน
2. วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565  เวลา 09.00 น. พิธีอัญเชิญเจ้าพ่อออกจากศาลฯ และร่วมขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
3. วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. พิธีไหว้วันเกิดเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร **งดแจกหมี่
“เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร” เป็นที่เคารพนับถือของชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะชาวประมงก่อนออกเรือหาปลาทุกครั้งมักขอพรให้เดินทางปลอดภัยหรือบนบานให้หาปลากลับมาได้จำนวนมาก 
และด้วยความศรัทธาของชาวจังหวัดสมุทรสาครที่มีต่อเจ้าพ่อหลักเมือง จึงจัดประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครเป็นประจำทุกปี ในปีนี้พิธีแห่เจ้าพ่อหลักเมืองฯ จะมีขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. ถือเป็นไฮไลท์สำคัญของงาน 
โดยจะอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองฯ ประทับเกี้ยว พร้อมอัญเชิญประทับในเรือประมงแห่ไปทางน้ำ ข้ามแม่น้ำท่าจีนและแห่ไปตามถนนสายต่างๆ ทั้งฝั่งท่าฉลอมและมหาชัย รวมทั้งมีการตั้งโต๊ะบูชาเพื่อทำพิธีเปลี่ยนธูปตลอดเส้นทางขบวนแห่เจ้าพ่อหลักเมืองฯ ให้ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวได้ร่วมกันสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล
ทั้งนี้การจัดงานกล่าว จัดภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร อย่างเคร่งครัด  
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร 
โทร. 0 3442 5150 
ทุกวันทำการ ตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น.

#TATSamutSongkhram
#เที่ยวใกล้เที่ยวง่ายสไตล์ภาคกลาง
#เทรนดี้C2ภาคกลาง
#เที่ยวเมืองไทยamazingยิ่งกว่าเดิม
-----------------
 
**ข้อมูลเพิ่มเติม**
Highlight ขบวนแห่เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครทั้งทางบกและทางน้ำ รวม 32 ขบวน มีการเปลี่ยน (แลก) ธูป ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เป็นความเชื่อ ความศรัทธา และเป็นขวัญกำลังใจของประชาชน ในการดำเนินธุรกิจของตนเองให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
 
ปี 2565 นี้จะมีแค่ขบวนแห่เพียง 1 ตอนเท่านั้น คือขบวนขององค์เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร ซึ่งใน 1 ตอนจะประกอบด้วย 32 ขบวน เช่น รถประชาสัมพันธ์งาน, วงโยธวาทิต, ขบวนธง, รถพรมน้ำมนต์จากภิกษุสงฆ์, รถเฉลิมพระเกียรติสดุดีเจ้าพ่อหลักเมือง, วงโยธวาทิต, รถตกแต่งคำขวัญของจังหวัด, รถบุปผชาติ, ขบวนมังกรสิงโต, ขบวนล้อโก๊ว, ขบวนกี่เพ้า, รดน้ำมนต์เจ้าพ่อหลักเมือง, ขบวนธงของเจ้าพ่อหลักเมือง, กระถางธูป, เก้าอี้เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร, เกี้ยวเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นต้น 
โดยจะมีเพียงองค์ประกอบหลักที่สำคัญเท่านั้น และมีจำนวนคนเข้าร่วมขวนไม่เกิน 1,000 คน เส้นทางและเวลาการแห่ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง คือมีทั้งทางน้ำโดยเรือประมง และทางบกทั้งฝั่งท่าฉลอมและมหาชัย
ส่วนในวันไหว้วันเกิดเจ้าพ่อในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ก็จะไม่มีการแจกหมี่มหามงคล และใครที่จะไหว้วันเกิดเจ้าพ่อ ต้องเตรียมหมี่มาเอง ตลอดงานจะมีเพียงการแสดงงิ้วถวายเจ้าพ่ออย่างเดียว งดมหรสพอื่นๆ รวมทั้งไม่มีร้านขายสินค้าในงานด้วย
---------------------

ททท.ลพบุรี เชิญเที่ยวงาน “เทศกาลกระท้อนหวานและของดีเมืองลพบุรี” ครั้งที่ 29

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี ขอเชิญเที่ยวชมงาน “เทศกาลกระท้อนหวานและของดีเมืองลพบุรี” ครั้งที่ 29 ประจำปี 2565 
📌ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2565 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ภายในงานทุกท่านจะมีโอกาสได้เลือกซื้อกระท้อนสดๆ และกระท้อนแปรรูป สินค้าคุณภาพดี ราคาถูก ส่งตรงจากสวน หลากหลายพันธุ์ ทั้ง ปุยฝ้าย ทับทิม อีล่า นิ่มนวล ฯลฯ พร้อมสนุกสนานไปกับกิจกรรมรื่นเริงต่างๆภายในงาน อาทิ การแสดงจากศิลปิน, การแสดงดนตรีลูกทุ่ง, การแสดงศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย
☎️ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานลพบุรี โทร. 036 – 770096 – 7 หรือ Facebook Fanpage : Tat Lopburi 
https://www.facebook.com/180924715311196/posts/pfbid02orRdwM8Bc7XUFmW9j9HMDLVtW4Aac3TjLhRxJWcB9GYy6caJrHJzoYhjWSEPRfS8l/

#ลพบุรีเมืองน่าเที่ยว #TATLopburi #เที่ยวใกล้เที่ยวง่ายสไตล์ภาคกลาง #TrendyC2ภาคกลาง #เที่ยวเมืองไทยAmazingยิ่งกว่าเดิม #ตะลอนไปทั่ว

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

วช. – มธ.​ เปิดงาน​เสวนา ความหวังทุเรียน​ไทย​ ผ่านการวิจัยและนวัตกรรม​ ทุเรียนไทย​ สู่ทุเรียนโลก

           วันนี้ (วันที่ 21 พฤษภาคม 2565) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา​ วิทยาศาสตร์​ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดการเสวนาวิชาการ​ เรื่อง “ความหวังทุเรียนไทย ผ่านการวิจัยและนวัตกรรม”  โดย  ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  และนายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี  พร้อมด้วย ศ.ดร.ทพญ.ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​ เป็นประธานเปิดงาน และเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานวิจัย 
รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย กล่าวรายงาน พร้อมด้วย​ ผศ.ดร.สุมิตร คุณเจตน์ ผอ.กองส่งเสริมการอารักขาพืชฯ กรมส่งเสริมการเกษตร​ นางปัทมา นามวงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี​ นายกสมาคมทุเรียนไทย นายกสมาคมผู้ส่งออกทุเรียนไทย เครือข่ายเกษตรกร และสื่อมวลชน ให้เกียรติเข้าร่วมงานเสวนาฯ ณ โรงแรมมณีจันทร์รีสอร์ท ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยการจัดเสวนาวิชาการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานในโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ smart farmer (กรณีศึกษาการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนเพื่อการส่งออก)” ซึ่งมี รศ.ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย 
    
          ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช.  เป็นหน่วยงานภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  มีภารกิจหลักในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมแก่นักวิจัย หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ในประเด็นสำคัญของประเทศ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งสหสาขาวิชาการ โดยมุ่งเน้นผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาได้จริงอย่างทันท่วงที ทั้งเชิงวิชาการ เชิงเศรษฐกิจ เชิงสังคมชุมชน และเชิงนโยบาย เพื่อใช้เป็นกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญของประเทศ การพัฒนาด้านการเกษตรโดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจหลักของ จังหวัดจันทบุรี และของประเทศ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเราประสบปัญหาภาวการณ์แข่งขันที่มีข้อกำหนดและเงื่อนไขทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการควบคุมสินค้าให้มีคุณภาพ ดังนั้น แนวทางที่จะพัฒนาภาคเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียน จึงต้องพัฒนาทั้งระบบด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายบูรณาการทำงานร่วมกันทั้งภาควิชาการ หน่วยงานภาครัฐ จังหวัด เกษตรกร ภาคเอกชน ตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เน้นการผลิตที่สอดคล้องกับตลาดโดยยึดหลักตลาดนำการผลิต สร้างความมั่นคงของตลาดในประเทศและขยายตลาดต่างประเทศที่เป็นตลาดคุณภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญคือการวิจัย พัฒนา ตลอดจนการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมการจัดการสมัยใหม่ ในการบริหารจัดการสวนทุเรียน การจัดการผลผลิต การเพิ่มคุณภาพการส่งออก เพื่อเป็นตัวหนุนเสริมให้การทำการเกษตรมีคุณภาพสูง รวมถึงการจัดการองค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ที่อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรสามารถเข้าถึงนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปใช้ในการบริหารจัดการให้ได้ผลผลิต​ที่มีคุณภาพนับเป็นช่องทางในการผลักดันการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง การจัดประชุมเสวนาเชิงวิชาการในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการเน้นย้ำความร่วมมือของทุกฝ่ายบูรณาการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาคุณภาพของทุเรียนที่เป็นสินค้าเกษตรให้เป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภค ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่มุ่งมั่นความร่วมมือของทุกฝ่าย ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ วช. ได้เข้ามาช่วยสนับสนุนผ่านความร่วมมือจากทีมนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหน่วยงานอื่น ๆ​ ที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญต่องานวิจัย และนวัตกรรม พร้อมร่วมผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาเกษตรกร โดยผสานความรู้ร่วมผนึกกำลังเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจังหวัดจันทบุรี สู่การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่ และเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ วช. หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน และเป็นต้นแบบการทำงานวิจัยแบบบูรณาการให้กับนักวิจัย  เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
นายสุพจน์ ภูติเกียรติขจร​ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า จังหวัด​จันทบุรี​ มีลักษณะภูมิประเทศ ป่าไม้ ภูเขา และเนินเขาสูง มีแหล่งท่องเที่ยว​ที่สำคั​ญของประเทศ​ร่วมทั้งยังมีอัญมณี​ที่สำคั​ญที่เหมาะแก่การศึกษา​และทำการวิจัยในอนาคต​ และมีผลไม้ที่ขึ้นชื่อหลากหลาย​ชนิด​ เช่น​ เงาะ​ มังคุด​ และพืชเศรษฐกิจ​หลักอย่างทุเรียนเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อ​ของจังหวัดจันทบุรีนับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.​2565​ งานวิจัยในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและสร้างรายได้ให้กลุ่มชาวเกษตรกร​ผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่สู่การพัฒนาเกษตรกรไทยสู่เกษตรกร​ smart farmer​ ได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
ด้านรศ. ดร.วรภัทร วชิรยากรณ์ ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ได้รับการจัดสรรทุนการวิจัยโครงการวิจัย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ การพัฒนาเกษตรกรไทยสู่ 
smart farmer (กรณีศึกษาการพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน เพื่อการส่งออก) ภายใต้กรอบการวิจัยหลักการเพิ่มผลผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี พัฒนางานวิจัยต่อยอดเป็น knowledge platform ที่เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ในการเพิ่มคุณภาพการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน ลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้แรงงานด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ เชิงบูรณาการ รองรับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี มุ่งเน้นทำให้เกษตรกรเข้าถึงองค์ความรู้ และแก้ไขปัญหาการผลิต เพื่อให้เกษตรกรพัฒนาผลผลิตที่มีคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลบนมาตรฐาน GAP ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี smart farmer เข้ามามีส่วนช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบปฏิบัติทางการเกษตร Good agricultural Practice: GAP ที่ให้เกษตรกรสามารถกรอกข้อมูลผ่านการพูดผ่าน application ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ application ดังกล่าวจะมีส่วนช่วยในการประเมินสถานะของแปลงปลูกพืชในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงการประเมินการใช้สารเคมีเกษตร ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช และการปรับฮอร์โมนให้เหมาะสมกับพืชที่ผลิต พร้อมทั้งระบบตรวจติดตามสภาพแปลงปลูกพืชแบบ real-time และนวัตกรรม Basin fertigation model เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ทุเรียนมีคุณภาพสูง (premium grade) ระบบ GIS-smart farming-iOT นวัตกรรมการจัดการโรครากเน่าโคนเน่า (Phytophthora sp) ทดสอบโรคหลังการเก็บเกี่ยว และนวัตกรรมการส่งออกทุเรียน​ผลสด​ ภายใต้อุณหภูมิต่ำด้วยนวัตกรรมภาชนะเก็บกลิ่นทุเรียนแกะเนื้อสดเพื่อการส่งออก ด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ ก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนทั่วทุกภูมิภาคและผู้ประกอบการส่งออกของไทยในระดับประเทศให้มีรายได้เพิ่มขึ้นต่อยอดสู่คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ภายในงานมีการจัดนิทรรศการ​และการนำเสนอผลงานนวัตกรรมการวิจัยโดยนักวิจัยร่วมเสวนากับเกษตรกรในแต่ละพื้นที่​ ที่ได้นำนวัตกรรมไปทดลองใช้งาน รวมทั้งผู้เข้าร่วมสัมมนา ณ สถานที่จัดงาน และ online ผ่านระบบ zoom meeting ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคและการส่งออกแบบครบวงจรเป็นการส่งเสริมและขับเคลื่อนการพัฒนา​เศรษฐกิจของประเทศอย่าง​ยั่งยืน​ต่อไป
.......................................................... 
   

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ททท. เชิญชวนนักท่องเที่ยว ชมปรากฏการณ์ครั้งใหม่ สุดยิ่งใหญ่ ในงาน Aqua Lumina มหัศจรรย์แสงเรืองรองจากท้องทะเล @ภูเก็ต

ททท. เชิญชวนนักท่องเที่ยว ชมปรากฏการณ์ครั้งใหม่ สุดยิ่งใหญ่ ในงาน Aqua Lumina มหัศจรรย์แสงเรืองรองจากท้องทะเล @ภูเก็ต 
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ยกความมหัศจรรย์จากท้องทะเลอันดามันสู่สายตานักท่องเที่ยว มาไว้ที่ 3 จังหวัดภาคใต้ กระบี่ ภูเก็ต พังงา ระหว่างวันที่ 14 พ.ค - 12 มิ.ย 65 
วันนี้ นายนิธี สีแพร รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัยและพัฒนา นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต น.ส.ภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคใต้ ททท. นายสุวิทย์ สุริยะวงค์ นายอําเภอเมืองภูเก็ต นายอรุณ โสฬส นายกเทศมนตรีตําบลราไวย์ น.ส. นันทาศิริ รณศิริ ผอ. ททท. สำนักงานภูเก็ต หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมเปิดงานสุดตระการตา ณ หาดในหาน จ.ภูเก็ต พร้อมร่วมกิจกรรม Silent Music : sound of earth การแสดงดนตรีไร้เสียงรบกวนธรรมชาติ โดย จอห์น นูโว 
เทศกาลประดับไฟ (The Aqua Illumination in Southern Thailand) เทศกาลประดับไฟสุดยิ่งใหญ่ที่พร้อมมอบช่วงเวลาสุดพิเศษ
โดยเริ่มต้นที่ จ.กระบี่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 25 พฤษภาคม ณ พิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา และลานพระอาทิตย์องค์การบริหารจังหวัดกระบี่ ภายใต้แนวคิด “ดินแดนสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์” นำเสนอระบบแสงสีผ่านบรรดาสัตว์ใต้ท้องทะเลสุดน่ารักที่ถูกประดับประดาไปด้วยไฟหลากสีสัน และการแสดง Projection Mapping บนเรือหลวงลันตา พร้อมการออกร้านจำหน่ายอาหาร
ต่อด้วยจังหวัดภูเก็ต จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 31 พ.ค. ณ หาดในหาน ด้วยแนวคิดสุดยิ่งใหญ่ ตระการตา “ดินแดนผู้พิทักษ์แห่งอันดามัน” ประกอบไปด้วยแสงสีเสียง และมุมถ่ายรูปที่ประดับตกแต่งไฟ พร้อมทั้งรับชมการแสดง Projection Mapping 
และปิดท้ายด้วยจังหวัดพังงา จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 พ.ค - 2 มิ.ย ณ หาดเมมโมรี่ ภายใต้แนวคิด "ดินแดนคลื่นเต้นระบำ" ด้วยเทคนิค MUSIC & ILLUMINATION นำเสนอการไฟประดับรูปทรงปะการังใต้ท้องทะเล การแสดงคอนเสิร์ตของศิลปินทั้งจากในท้องถิ่น และขบวนศิลปินฮิปฮอปชื่อดัง ที่จะมาร่วมสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานริมชายหาด
#AquaLuminaแสงเรืองรองจากท้องทะเลอันดามัน
#หรอยแรงแหล่งใต้
#amazingNewChapter
#AmazingThailand
#ตะลอนไปทั่ว
#กระบี่
#ภูเก็ต
#พังงา
#SilentMusic
#AquaLumina
#ProjectionMapping

วช. ร่วมกับ สอวช. เผยผลสำรวจค่าใช้จ่ายและบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาไทยปี 63 (รอบสำรวจปี 64) พบแตะร้อยละ 1.33 % ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากปี 2562 กว่า 7 %



วช. ร่วมกับ สอวช. เผยผลสำรวจค่าใช้จ่ายและบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาไทยปี 63 (รอบสำรวจปี 64) พบแตะร้อยละ 1.33 % ของจีดีพี  เพิ่มขึ้นจากปี 2562 กว่า 7 %  เผยเอกชนลดงบวิจัยและพัฒนาจากสถานการณ์โควิด19 แต่รัฐใส่เม็ดเงินเพิ่ม มั่นใจงบวิจัยไทย ถึงเป้า 2 % ในปี 2570 ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน

วันนี้ (20 พฤษภาคม 2565) ที่ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ชั้น 1 อาคาร วช. 8 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดแถลงข่าว “ผลสำรวจค่าใช้จ่ายและบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา ของประเทศไทย ปี 2563 (รอบสำรวจปี 2564)” เพื่อสะท้อนสถานภาพการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ  
                ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง  ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  เปิดเผยว่า   ผลสำรวจดังกล่าว ถือเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ที่จะนำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ  และเป็นข้อมูลที่จะประกอบการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและนวัตกรรม การติดตามประเมินผล ตลอดจนใช้วัดศักยภาพการพัฒนาและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

                ทั้งนี้ผลการสำรวจค่าใช้จ่ายและบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย ปี 2563 (รอบสำรวจปี 2564)  พบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนารวมทั้งสิ้น 208,010 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.33 ของ GDP ของประเทศ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2562 คิดเป็นร้อยละ 7.74    โดยสัดส่วนการค่าใช้จ่ายและลงทุนเป็นภาคเอกชน ร้อยละ 68  หรือ  141,706 ล้านบาท ส่วนภาครัฐรวมถึงภาคอุดมศึกษา รัฐวิสาหกิจ และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร คิดเป็นร้อยละ 32   หรือ  66,304 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมค่าใช้จ่ายฯ ด้านวิจัยและพัฒนาของประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น  จากภาครัฐที่ใส่เม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้น  แต่สัดส่วนการลงทุนของภาคเอกชน ได้ลดลงจากร้อยละ 77 %  ในปี 2562    เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์Covid-19    โดย 3 อุตสาหกรรมที่ยังมีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาสูงสุด ในปี 2563  คือ อุตสาหกรรมอาหาร  32,545 ล้านบาท  เนื่องจากผู้ประกอบการยังลงทุนในการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้เป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ  รองลงมา คือ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง  11,862 ล้านบาท  ซึ่งมีการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมการป้องกันภัย  การตรวจสอบ และการระงับอัคคีภัย ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟนได้ และมีการวิจัยเพื่อพัฒนาวัสดุก่อสร้างแบบประหยัดพลังงานเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ อุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้า 11,675 ล้านบาท ที่มีค่าใช้จ่ายทางด้านวิจัยและพัฒนาสูงขึ้น เนื่องจากมีการลงทุนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนมากยิ่งขึ้น จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการทำงานที่บ้านมากยิ่งขึ้น
สำหรับจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา ในปี 2563 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่ทำงานเทียบเท่าเต็มเวลา (Full-time equivalent: FTE) รวมทั้งสิ้น 168,419 คน/ปี (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 1) โดยคิดเป็นสัดส่วน 25 คน/ปี ต่อประชากร 10,000 คน  ซึ่งแบ่งเป็นบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา (แบบ FTE) ภาคเอกชน จำนวน 119,264 คน/ปี และภาคอื่น ๆ (รัฐบาล, อุดมศึกษา, รัฐวิสาหกิจ และเอกชนไม่ค้ากำไร) จำนวน 49,155 คน/ปี หรือคิดเป็นสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา (แบบ FTE) ของภาคเอกชนต่อภาคอื่น ๆ อยู่ที่ร้อยละ 71:29  โดยตั้งเป้าหมายภายในปี 2570 จะเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา (แบบ FTE) ให้มีสัดส่วนอยู่ที่ 40 คน/ปี ต่อประชากร 10,000 คน
ด้าน ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ   กล่าวว่า  เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ตัวเลขสำรวจค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา ปี 2563 เพิ่มขึ้น แม้จะเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19  ซึ่งเป็นเพราะภาครัฐเห็นความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาจึงใส่เม็ดเงินในด้านนี้เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า  ทั้งนี้หากดูแนวโน้มการพัฒนาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากงบลงทุน ฯ ประมาณร้อยละ 0.2 ของจีดีพี ขึ้นมาถึงร้อยละ 1.33 ของจีดีพีในปี 2563  ถือว่าประเทศไทยมีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันสูง   
“ ปัจจุบันในภูมิภาคอาเซียน เลขค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาของไทย ยังเป็นรองแค่ประเทศสิงคโปร์  และในปี2570  หรือ 5 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยได้ตั้งเป้าค่าใช้จ่ายหรืองบลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาอยู่ที่ร้อยละ 2   ซึ่งหากประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย คาดว่าจะทำให้ประเทศไทยสามารถขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนได้”
  อย่างไรก็ดีในส่วนของ สอวช. ได้มีการตั้งเป้าหมายใหญ่ของประเทศที่จะขับเคลื่อนด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ให้สำเร็จภายในปี 2570  ด้วยการขับเคลื่อนประเทศไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง  มีกลไกหรือแพลตฟอร์มในการยกระดับฐานะทางสังคมของประชาชน   มีการส่งเสริมให้เกิดบริษัทที่ใช้นวัตกรรมเป็นฐานในการทำธุรกิจมากขึ้น   เพิ่มสัดส่วนแรงงานทักษะสูงรองรับภาคอุตสาหกรรม และผลักดันให้ 50% ของบริษัทส่งออก บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์  นอกจากนี้ยังมีการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารจัดการ ด้านโครงสร้างระบบหน่วยงาน และด้านการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม
........................................................