วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ททท.ภาคกลาง เชิญท่องเที่ยวบนดินแดนศิวิไลซ์ CIVILIZE FESTIVAL📍เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)​ ภูมิภาคภาคกลาง
 ขอเชิญ ท่องเที่ยวบนดินแดนศิวิไลซ์ 
ในงาน
CIVILIZE FESTIVAL
📍เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี 
( ณ หาดศิวิไลซ์ ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ บ้านมะนาวหวาน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี)
📍ประตูเปิด 15.00 น.

 สัมผัสประสบการณ์ แห่งความสร้างสรรค์ผ่านพลังแห่งดนตรี ศิลปะ ร่วมสมัย ที่จะพาเราได้ยินเสียงหัวใจและเสียงธรรมชาติรอบตัว 
มาค้นพบความสุข และรอยยิ้ม ร่วมกันที่ ศิวิไลซ์ เฟสติวัล เทศกาลดนตรีที่รวมดนตรี ศิลปะ อาหาร วัฒนธรรม แคมป์ปิ้งไว้ในงานเดียว 2 เวที 1 โซนดีเจ 
#เวทีสายลม
- พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
- ธีร์ ไชยเดช
- GREASY CAFE
- T-BONE aRootstic
- ZWEED N' ROLL
- ไววิทย์
- T_047
#เวทีแสงแดด
Stage Culture 
(เวทีวัฒนธรรมพื้นถิ่น ศิลปิน นักร้อง/นักดนตรี จ.ลพบุรี)
SUNDER ( Ethnic Music อีสานฟิวชั่นแนวใหม่ )
LAWANARIN (ดนตรีไทยผสมดนตรีสากลคลาสสิกประยุกต์)
CHARLIE ( แนวเพลง คันทรีโฟล์ค บลูแกรส)
FORESTER( แนว Pop เพลงเล่าเรื่องราวธรรมชาติป่าไม้)
TANG KHONG ( แนวเพลงอะคูสติกอินดี้โฟล์ค)
ASATISS ( แนวเพลง Alternative-Folk)
STORY MODE (แนวเพลงอะคูสติกโฟล์คแค้มป์)
#หมายเหตุ นำเก้าอี้แค้มป์ มานั่งได้ รถเข็นแคมป์ปิ้ง มาได้ ห้ามน้ำอาหาร เครื่องดื่มเข้างานในงานมีขายอุดหนุนชาวบ้านกัน ห้ามนำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้างาน ห้ามนำอาวุธและยาเสพติดทุกชนิดเข้างาน เราจะเที่ยวด้วยความสบายใจไปด้วยกัน
กิจกรรมที่จะมอบความสุขให้กับทุกคน
- สินค้าจากจากชุมชนพี่น้องมะนาวหวาน
ทั้งของกินของใช้ของสะสมทำด้วยความรัก
- รวมพลคนทำกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ทุกสายพันธุ์มาออกบูธพบปะแลกเปลี่ยนซื้อขายแบบมิตรภาพ
- กิจกรรม SUPBOARD, Yoga , Slack line 
- ECO Print ย้อมผ้าลายใบไม้ เพ้นท์สีจากธรรมชาติ
- ECO Art ศิลปะจากขยะ
- Kids playground มุมเด็กๆ เล่น 
เพ้นท์หน้า, โยคะ kids สอนฟรีให้กับเด็กๆ
- รถ RETRO CLASSIC ทั้ง2ล้อและ4ล้อ ทุกสายพันธุ์
- ว่าวไทย และ ว่าวนานาชาติ
ภายในงาน 
- เชิญชวนทุกแบรนด์ที่เป็นผู้สนับสนุน
และที่ร่วมออกบูธในงาน หันมาใช้และสนับสนุนสินค้าหมุนเวียน ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ หรือการใช้วัสดุจาก ธรรมชาติอย่างจริงจัง 
- ไม่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มที่ใส่ในเเก้วพลาสติก 
- ผู้เข้าร่วมงานทุกคน ใช้แก้วที่นำมาเอง ไม่ก่อให้เกิดขยะในภายหลัง
เที่ยวแบบลด - Low Carbon 
ให้เป็นที่น่าจดจำ จะเที่ยวเฉย ๆ ได้อย่างไร
เที่ยวทั้งที ต้องดีต่อโลกด้วย เพราะโลกเดี๋ยวนี้ร้อนเหลือเกินงั้นมาเที่ยวแบบ เที่ยวไป ลดคาร์บอนไป ดีต่อใจ ทั้งเธอและฉัน
- ลด .. การเดินทางสร้าง carbon นั่งรถโดยสาร นั่งรถเพื่อน นั่งรถไปกับเรา
- ลด .. การสร้างขยะ ยืดอก พกถุง!! พกถุงผ้า พกแก้ว พวกขวดน้ำส่วนตัว มาช่วยกันลดการวร้างขยะ single use PLASTIC 
เพราะการเที่ยวแบบ Low Carbon แฝงอยู่ในทุกกิจกรรมจะเล็กน้อยหรือยิ่งใหญ่ ถ้าก่อนทำพวกเราทุกๆคนคิดถึงผลกระทบที่มีต่อโลกก็เป็นการท่องเที่ยวแบบ ลด Low Carbon ได้ทั้งนั้น

🎫 EARLY BIRD 790.- จากปกติ 1,200.-
ตั้งแต่วันที่ 5 -31 สิงหาคม 67 นี้เท่านั้น‘
#เปิดจำหน่ายบัตรแล้ววันนี้ ทาง EVENTPOP    

พบกันที่ หาด ศิวิไลซ์ เพื่อชีวิต ศิวิไลซ์

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ททท. เปิดห้างฯ เปิดโปรโมชั่น 999 บาท ไทยเที่ยวไทย Tourism Department Store​ ธีม “Flash Deal สุขทันทีที่เที่ยวหน้าฝน”

กิจกรรมส่งเสริมการขาย​ ​Consumer Fair (เข้าชมฟรี) ในงานไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 71 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ​ ระหว่างวันที่ 22 – 25 สิงหาคม 2567 เวลา​10.00-21.00 น.


การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวทั่วประเทศไทย​ เข้าร่วมโครงการ ททท. 999 ไทยเที่ยวไทย Tourism​Department Store ธีม “Flash Deal สุขทันทีที่เที่ยวหน้าฝน” ในงาน “ไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 71” ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 22 – 25 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00-21.00 น. จัดโดยบริษัท พี.เค. เอ็กซิบิชั่น​แมนเนจเม้นท์ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศช่วงฤดูฝนทั้งเมืองหลักและเมืองน่าเที่ยวโดยส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวให้มีโอกาสนำสินค้าและบริการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพโดดเด่น น่าสนใจ เต็มไปด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่น และสอดคล้องกับนโยบาย 5 Must Do in Thailand ได้แก่ Must Taste, Must Try, Must Buy, Must Seek และ Must See มานำเสนอในรูปแบบแพ็กเกจสินค้า / บริการการท่องเที่ยว เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นค่าใช้จ่ายจากการเดินทางท่องเที่ยวให้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี



นางสาวสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ (ททท.)ได้ให้ข่าวว่า​ การจัดงาน​“ไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 71” ครั้งนี้ ททท. สนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเสนอขายแพ็กเกจพิเศษในราคาเดียว 999 บาท จำนวนทั้งสิ้น 20,000 สิทธิ โดยนักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อแพ็กเกจได้ 2 ทาง คือ ซื้อจากผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่มาออกบูธในงานไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 71​ ในวันที่ 22 – 25 สิงหาคม 2567 จัดโดยบริษัทเอ็กซิบิชั่น แมนเนจเม้นท์ จำกัด ประมาณกว่า 700 รายและอีกทางหนึ่ง ททท. ได้อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวสามารถซื้อแพ็กเกจพิเศษของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวจากเว็บไซต์ tourismdepartmentstore.com (ห้าง ททท.) ได้ภายในงานฯ และระบบ Online ตั้งแต่วันที่ 22 – 31 สิงหาคม 2567 โดยบูธของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประมาณกว่า 500 ราย ในงาน “ไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 71” รอต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่ด้านหน้า Hall 5 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยห้าง ททท. Online 7 ชั้น คือ ชั้น 1 พาหนะเดินทาง-ตั๋วเครื่องบิน, ชั้น 2 ร้านอาหารและเครื่องดื่ม, ชั้น 3 โรงแรมและที่พักรีสอร์ตโฮมสเตย์, ชั้นที่ 4 ชอปปิงและของที่ระลึก, ชั้น 5 แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมชุมชนท่องเที่ยว, ชั้น 6 บริษัททัวร์ และชั้น 7 โปรโมชั่นพิเศษในงานไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 71




ธีม “Flash Deal สุขทันทีที่เที่ยวหน้าฝน” ยกตัวอย่างประกอบด้วย

ภาคเหนือ : โรงแรมม่อนฟ้าใส โฮม รีสอร์ท เชียงราย, Ibis Styles Chiang Mai, ออนเซ็น แอท ม่อนแจ่ม เชียงใหม่, โรงแรมเมอร์เคียว เชียงใหม่, โรงแรมเชียงใหม่เกต, โรงแรมดวงตะวัน เชียงใหม่, โรงแรมม้งฮิลล์ไทร์ปล็อดจ์ เชียงใหม่, โรงแรมลำปางริเวอร์ลอดจ์, สุโขทัยเทรเชอร์รีสอร์ท แอนด์ สปา, โรงแรมทรีธารา ลำปาง, เลเจนด้า สุโขทัย รีสอร์ท, เลอชาร์ม สุโขทัย รีสอร์ท ฯลฯ



ภาคกลาง : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ, Imperial Hotels and Resorts กรุงเทพฯ, Hotel Clover Asoke, Premium.Sushi & Seafood Buffet Dinner @The Emerald Coffee Shop โรงแรมดิเอมเมอรัลด์, Seafood Unlimited ณ ห้องอาหาร The SQUARE Novotel Bangkok Ploenchit Sukhumvit, เดอะแกรนด์ ชูร์ราสโก้ บุฟเฟต์สไตล์บราซิล, โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, Kiriya spa @ Lit Bangkok Hotel, สวนสนุกดรีมเวิลด์, Haru Suki Buffet The Salaya Leisure Park นครปฐม, Asita Eco Resort สมุทรสงคราม, ร็อค รีสอร์ท ราชบุรี, โฮมพุเตยริเวอร์แควรีสอร์ท กาญจนบุรี , คำแสดริเวอร์แควรีสอร์ท กาญจนบุรี, เขาโทนริเวอร์วิว รีสอร์ท กาญจนบุรี, เรือนแพ ริเวอร์แคว จังเกิลราฟท์, โรงแรมโกลเด้นบีช ชะอำ,​FuramaXclusive Sandara Hua Hin, Cha Am , Dolphin bay Resort ประจวบคีรีขันธ์, โรงแรมแอทที บูทีคประจวบคีรีขันธ์, โรงแรมยูอาร์ เดอะ ไพรเวทหัวหิน , บลูมารีน หัวหิน, Sundance Dayclub Hua Hin , โรงแรมหัวหิน ไวท์ วิลล่า ฯลฯ






ภาคตะวันออก : Novotel Bangkok Suvarnabhumi Airport Hotel,โรงแรม Royalcliff พัทยา,​ Bayphere Hotel Pattaya, Heeton Concept Hotel Pattaya, โรงแรมเอเชีย พัทยา,

GO HOTEL ชลบุรี, สวนไดโนเสาร์พัทยา, Ripley’s Believe It or Not! Pattaya, มินิมูร่าห์ฟาร์ม ฉะเชิงเทรา, ผึ้งหลวงแคมป์กราวด์ รีสอร์ท ปราจีนบุรี, Novotel Rayong Star Convention Centre ฯลฯ




ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : Khaoyai Farm Village & Fountain Tree Resort นครราชสีมา, โรงแรมเดอะพรรณราย อุดรธานี ฯลฯ



ภาคใต้ : สปาทรีตเมนต์ Vana Belle, a Luxury Collection Resort, เกาะสมุย, ทรายแดงสปา​ทรายแดง รีสอร์ท เกาะเต่า, Best Budget Hotel เกาะสมุย, Love Andaman ภูเก็ต, โปรแกรมนวด Fusion Suites Phuket Patong, PhuketDestination, โรงแรมแคนทารี เบย์ ภูเก็ต, Avani+ Khao Lak Resort, Peach hill resort ภูเก็ต, โรงแรมแคนทารี บีช เขาหลัก พังงา, Dusit Princess Phatthalung รวมทั้งสายการบิน : ไทยไลอ้อนแอร์, นกแอร์, เวียตเจ็ท และรถเช่า : BUDGET CAR AND TRUCK RENTAL, AVIS Rent A Car นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมไฮไลต์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ซื้อแพ็กเกจ​ จะมีสิทธิ์รับกระเป๋าผ้า “สุขทันทีที่เที่ยวหน้าฝน” จาก ททท. เป็นของที่ระลึก จำนวนจำกัดเพียง 400 ใบเท่านั้น



ททท. มั่นใจว่าการบูรณาการร่วมกับพันธมิตรผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในการออกบูธภายในงานครั้งนี้ ตลอดจนผู้ประกอบการภาคออนไลน์จากห้าง ททท. จะกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวธรรมชาติ ในช่วงไตรมาส 4 ได้เป็นอย่างดี โดยคาดว่างาน “ไทยเที่ยวไทย ครั้งที่ 71” จะสร้างรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567

คึกคักมากกับการออกเดินทางยามเช้า "สุขทันทีที่เที่ยวกับรถไฟไทย เดินทางครั้งนี้ไม่เหมือนเดิม" ไปกับ Royal Blossom เส้นทางกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี

เช้านี้ (17 สิงหาคม 2567) นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. พร้อมด้วย ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย 
ร่วมปล่อยรถไฟขบวน Royal Blossom เส้นทาง กรุงเทพฯ - กาญจนบุรี กับกิจกรรม "สุขทันทีที่เที่ยวกับรถไฟไทย เดินทางครั้งนี้ไม่เหมือนเดิม" ณ สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) กรุงเทพมหานคร

ซึ่งความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานหลักที่ดำเนินการโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รวมถึงหน่วยงานพันธมิตรจาก บริษัท บุญรอด เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และทิพยประกันภัย ร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมท่องเที่ยวในครั้งนี้

 โดย ททท. มีความตั้งใจที่จะส่งมอบประสบการณ์อันทรงคุณค่าทางการท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวทุกท่าน ซึ่งการเดินทางท่องเที่ยวทางรถไฟ เป็นวิธีการเดินทางที่มีเสน่ห์ต่างจากการท่องเที่ยวด้วยวิธีอื่น เนื่องจากนักท่องเที่ยวสามารถ ดื่มด่ำ ทิวทัศน์อันสวยงามสองข้างทางตลอดการเดินทาง อีกทั้งรถไฟขบวน Royal Blossom เป็นขบวนรถไฟใหม่ที่มีความสวยงาม และ ททท. ได้เตรียมการต้อนรับนักท่องเที่ยว ณ สถานีกาญจนบุรีอีกด้วย 
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจจองแพ็กเกจท่องเที่ยวเส้นทางโดยสารรถไฟ ทั้ง 6 เส้นทาง ได้ที่สถานีรถไฟทุกแห่ง หรือระบบ D-ticket ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

#AmazingThailand
#สุขทันทีที่เที่ยวกับรถไฟไทยเดินทางครั้งนี้ไม่เหมือนเดิม
#RoyalBlossom

มกอช. ขานรับข้อสั่งการ “รมว.เกษตรฯ” ลุยสวนทุเรียน-โรงรวบรวมผลทุเรียนชุมพร สร้างการรับรู้ปฏิบัติตาม มกษ. 9070-2566 ผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออก ขณะที่ผู้ประกอบการ ตอบรับพร้อมปรับเข้าสู่หลักเกณฑ์

วันนี้ (16 ส.ค.67) นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่เยี่ยมชมสวนทุเรียน GAP โรงรวบรวมผลทุเรียนและโรงคัดบรรจุ ณ อ.หลังสวน จ.ชุมพรว่า ตามนโยบายของรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า) และรักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอรรถกร ศิริลัทธยากร) ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลคุณภาพผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีศักยภาพในการผลิตและส่งออกมากที่สุดในเวลานี้ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทุเรียนโดยประมาณ 1,054,868 ไร่ ปลูกมากในพื้นที่ จ.จันทบุรี ชุมพร ระยอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และสามารถปลูกได้ในทุกภูมิภาคของประเทศ ในปี 2566 มีปริมาณการส่งออก 1,094,900 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 164,787 ล้านบาท ทั้งในรูปแบบทุเรียนผลสด ทุเรียนแช่แข็ง ทุเรียนกวน และทุเรียนอบแห้ง โดยประเทศที่ไทยส่งออกทุเรียนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง และมาเลเซีย ซึ่งคาดว่าการส่งออกของผลทุเรียนและผลิตภัณฑ์จะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ การส่งออกทุเรียนผลสดที่ผ่านมามักพบทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาด ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ (มกษ. 9070) เพื่อช่วยสนับสนุนการจำหน่ายทุเรียนที่มีคุณภาพ โดยมาตรฐานดังกล่าวได้ประกาศตามกฏกระทรวงให้เป็นมาตรฐานบังคับ และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2568 เป็นการควบคุมตลอดห่วงโซ่การผลิตเพื่อได้ทุเรียนที่มีคุณภาพ
กรอบการปฏิบัติตาม มกษ.9001 ระดับต้นน้ำ เกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนต้องมีกระบวนการควบคุมกระบวนการผลิตผลทุเรียนที่มีคุณภาพ ตั้งแต่การใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่สะอาด พื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม ใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรตามคำแนะนำที่ปลอดภัยเหมาะสมร่วมกับการใช้สารชีวภัณฑ์ เพื่อควบคุมศัตรูพืช มีการจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม มีการป้องกันการปนเปื้อนระหว่างการขนย้าย มีการปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะ และจดบันทึกข้อมูลที่สามารถตามสอบได้ ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถใช้ใบรับรองมาตรฐาน หรือผลการตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือบันทึกอายุผลทุเรียน (วันดอกบานถึงวันเก็บเกี่ยว) อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันก่อนตัดทุเรียนเพื่อจำหน่ายผลผลผลิตให้แก่สถานประกอบการต่อไป 

ระดับกลางน้ำ คือ โรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ ต้องมีกระบวนการดำเนินการตรวจและรับผลทุเรียนแก่ ตาม มกษ.9001 กำหนด โดยจะมีการตรวจหลักฐานแสดงการจัดการของแหล่งปลูกผลทุเรียนที่รับจากเกษตรกร คือ ใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (GAP) หรือได้รับการรับรองมาตรฐานที่เทียบเท่า หรือผลการตรวจ วิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้ง หรือบันทึกอายุผลทุเรียน (วันดอกบานถึงวันเก็บเกี่ยว) อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อดำเนินการตรวจหลักฐานการจากเกษตรกรแล้ว สถานประกอบการจะทำการสุ่มผลทุเรียน เพื่อตรวจพินิจลักษณะภายนอกของผลทุเรียน และต้องมีการทวนสอบความแก่ของผลทุเรียน ด้วยการตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้ง โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง ทุเรียน (มกษ.3) ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการคัดบรรจุต่อไป 
“มกอช. ได้บูรณาการร่วมกันกับกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานอื่นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งสมาคม และหน่วยงานภาคเอกชน สร้างความตระหนักรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ ผู้ประกอบการ เกษตรกร และผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติตามมาตรฐาน มกษ. 9070 ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ จากการจัดโครงการอบรมเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการและผู้ผลิตเข้าสู่มาตรฐานบังคับ เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ (มกษ.9070) ตั้งแต่เดือน เมษายน- สิงหาคม ให้แก่ ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ประกอบการการตรวจสอบมาตรฐาน เกษตรกร และสถานบันทางการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 387 รายและ ในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 1,500 ราย” เลขาธิการ มกอช. กล่าว 

ด้านนายจิตติ สุวรรณสังข์ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน GAP อ.หลังสวน จ.ชุมพร กล่าวว่า เริ่มแรกได้ทำเป็นสวนสมรม หรือสวนผสมผสานมีการปลูกทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน เงาะ มังคุด ลางสาด บนพื้นที่ 20 ไร่ ตั้งแต่รุ่นพ่อ แม่ ตา ยาย ต่อมาได้มาปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองมากว่า 25 ปี โดยผลผลิตที่ได้ และเมื่อมีล้งเข้ามารับซื้อผลผลิตเพื่อการส่งออก ทำให้เกิดเข้าตื่นตัวสู่กระบวนการผลิตทุเรียน GAP โดยสวนผ่านการตรวจประเมินและได้ใบรับรอง GAP ตั้งแต่ปี 2547 เพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้า และผู้บริโภค รวมทั้งช่วยยกระดับราคาสูงขึ้น ที่สำคัญทุกล้งจะเรียกหาใบรับรอง GAP จากสวนทุเรียน ปัจจุบัน ผลผลิตทุเรียน ปี 65-66 เฉลี่ย 1,800 กก/ไร่ ขณะที่ ปี 67 เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตลดลง 30-35% หรือประมาณ 1,300 กก./ไร่ ซึ่งจะส่งให้กับล้งที่รับซื้อเพื่อส่งออกไปจีนเป็นหลัก และมีส่งออกไต้หวัน และญี่ปุ่น แค่ 20% 

ขณะที่ น.ส.หทัยชนก อรุณรักษ์ เจ้าของบริษัท เดอะเบสท์ 3310 อินเตอร์ ฟรุ๊ต จำกัด กล่าวว่า ได้รับช่วงต่อจากรุ่นพ่อ แม่ มาทำล้งทุเรียนได้ประมาณ 7 ปีแล้ว และได้มีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์มาตรฐาo GMP มาโดยตลอด ซึ่งปริมาณผลผลิตทุเรียนที่รับซื้อจากเกษตรกรประมาณ 100 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือเฉลี่ย 17-18 ตัน/ตู้คอนเทนเนอร์ โดยจะมีการคัดเกรด A B และ C เพราะแต่ละเกรดจะมีราคาที่แตกต่างกัน โดยอิงจากราคากลาง ที่สำคัญบริษัทฯ จะรับซื้อทุเรียนจากสวนที่ได้รับ GAP เท่านั้น และเก็บเกี่ยวตามฤดูกาลที่ทางจังหวัดประกาศ แต่หากมีการเก็บเกี่ยวก่อน จะต้องมีการสุ่มตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งก่อนที่จะมีการส่งออก 

“สำหรับมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.9070 บริษัทฯ มีความพร้อมที่จะปรับให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว เพราะทุกล้งไม่ว่าจะล้งเล็ก หรือใหญ่ จะต้องเข้าสู่เข้าเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด”น.ส.หทัยชนก กล่าว   





วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567

สถาบันอาหาร - ส.อ.ท. - สภาหอการค้าฯชี้ส่งออกอาหารไทยครึ่งปีแรก 67 โต 9.9% มูลค่า 8.5 แสนล้านบาทลุ้นสิ้นปี 67 ฝ่าปัจจัยเสี่ยงสู่เป้า 1.65 ล้านล้านบาท


สถาบันอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เผยการส่งออกสินค้าอาหารของไทย 6 เดือนแรกปี 2567 มีมูลค่า 852,432 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ลุ้นครึ่งปีหลังขยายตัวต่อเนื่อง คาดอัตราต่ำกว่าครึ่งปีแรก หรือในราวร้อยละ 7.8 มีมูลค่า 797,568 ล้านบาท มั่นใจเป้าส่งออกทั้งปี 67 จะแตะ 1.65 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.8 หลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลกชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับสูง ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในภาคเกษตรที่ต่อเนื่องมาจากในช่วงครึ่งปีแรก ค่าเงินบาทยังคงผันผวนและมีทิศทางแข็งค่าขึ้น ต้นทุนค่าขนส่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอัตราค่าระวางเรือ รวมถึงปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและกำลังซื้อ




ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร//การแถลงข่าวร่วม 3 องค์กรเศรษฐกิจด้านธุรกิจเกษตรและอาหารมีตัวแทนหลักของทั้ง 3 องค์กร ประกอบด้วย ดร.ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.เจริญ แก้วสุกใส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย (ส.อ.ท.) และดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต ร่วมให้รายละเอียด



ดร.ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า
ภายใต้ความร่วมมือของ 3 องค์กร ในส่วนของสถาบันอาหารจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร โดยมีสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมบูรณาการข้อมูล พบว่า การส่งออกสินค้าอาหารไทยในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2567 แตะระดับ 852,423 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ปัจจัยหลักมาจากความต้องการสินค้าอาหารไทยในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบหลักในการแปรรูปหลายรายการอ่อนตัวลง โดยราคาปลาทูน่าที่ลดลงส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมปลาทูน่าแปรรูปและ
อาหารสัตว์เลี้ยง กลุ่มผู้ผลิตซอสได้รับต้นทุนน้ำตาลและถั่วเหลืองที่มีราคาถูกลง ราคากากถั่วเหลืองและราคาข้าวโพดที่ลดลงเอื้อต่อผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุตสาหกรรมไก่ การลดลงของราคาข้าวสาลีในตลาดโลกช่วยลดต้นทุนการผลิต
ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ขนมปังกรอบ รวมทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น


สำหรับกลุ่มสินค้าที่ปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นและส่งผลบวกต่อภาพรวมส่งออกอาหาร ได้แก่ ข้าว (+25.3%/+55.7%) แป้งมันสำปะหลัง (+21.1%/+30.5%) อาหารสัตว์เลี้ยง (+20.7%/+41.7%) ปลาทูน่ากระป๋อง (+20.7%/+19.2%) ซอสและเครื่องปรุงรสรส (+10.796/+16.79%) และผลิตภัณฑ์มะพร้าว (+19.76/+29.4%) ส่วนกลุ่มสินค้าที่ปริมาณส่งออกลดลง ส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านผลผลิต โดยเฉพาะผลไม้สดที่ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 11.9 น้ำตาลทราย ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 46.4 กุ้ง ปริมาณส่งออกลดลง ร้อยละ 6.8 และสับปะรด ปริมาณส่งออกลดลง
ร้อยละ 13.0


“ทั้งนี้ ปริมาณและราคาส่งออกข้าวไทยเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการตลาดโลกหลังอุปทานข้าวโลกตึงตัวจากการที่อินเดียยังคงจำกัดการส่งออก การส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงและปลาทูน่ากระป๋องขยายตัวสูง อานิสงส์จากราคาปลาทูน่าที่อยู่ในระดับต่ำ ความต้องการปลาทูน่ากระป๋องในกลุ่ม OEM มีแนวโน้มโดดเด่นเพราะได้รับประโยชน์จากราคาขายลดต่ำลงตามต้นทุนวัตถุดิบ
ซอสและเครื่องปรุงรสรสขยายตัวจากการที่ผู้ประกอบการไทยเน้นการรุกตลาดซอสบนโต๊ะอาหาร (Dipping/Table Sauces) รสชาติเผ็ดร้อนมากขึ้น หลังจากซอสในกลุ่มดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างมากจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ในประเทศฝั่งชาติตะวันตกทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา การส่งออกผลิตภัณฑ์มะพร้าวขยายตัวสูงในกลุ่มกะทิที่นำไปประกอบอาหารในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย รวมถึงกะทิที่ผสมและใช้เป็นเครื่องดื่มสุขภาพในตลาดจีน”

ตลาดส่งออกอาหารไทยในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2567 ส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูง อาทิ แอฟริกา
(+38.5%) โอเชียเนีย (+29.0%) สหรัฐอเมริกา (+23.0%) สหราชอาณาจักร (+17.2%) ตะวันออกกลาง (+16.7%) สหภาพยุโรป (+14.4%) CLMV (+12.5%) และญี่ปุ่น (+8.4%) มีเพียงตลาดส่งออกไปยังประเทศอินเดีย (-18.1%) และจีน (-5.0%) ที่หดตัวลง โดยอินเดียหดตัวลงตามสินค้าน้ำมันปาล์มเป็นหลักและหันไปนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดจีนหดตัวลงตามสินค้าผลไม้สด (ทุเรียน) กุ้ง และไก่สดแช่แข็ง เป็นต้น

ดร.ศุภวรรณ กล่าวต่อว่า สำหรับมูลค่าการค้าอาหารโลก 6 เดือนแรก ปี 2567 หดตัวลงร้อยละ 4.0 มูลค่า
การค้า 933 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยประเทศผู้ส่งออก 9 อันดับแรกของโลก มีอันดับโลกไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี จีน ฝรั่งเศส สเปน แคนาดาและอิตาลี ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยส่งออกในรูปดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เป็นอันดับที่ 12 ของโลก

“แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าจะมีมูลค่า 797,568 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 โดยการส่งออกในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ปี 2567 จะมีมูลค่า 395,536 ล้านบาท และ 402,032 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 และ 9.9 ตามลำดับ โดยภาพรวมในปี 2567 คาดว่าการส่งออกของอาหารไทยจะมีมูลค่า 1.65 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เทียบจากปีก่อน (66) ที่มีมูลค่า 1.51 ล้านล้านบาท มีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการที่ประเทศคู่ค้ากังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหาร หลายประเทศขาดศักยภาพในการผลิตสินค้าเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก สินค้าอาหารไทยมีภาพลักษณ์ด้านคุณภาพมาตรฐานและได้รับความเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออก
ขยายตัวต่ำกว่าครึ่งปีแรก เนื่องจากมีแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลกชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับสูง ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในภาคเกษตรที่ต่อเนื่อง ค่าเงินบาทยังคงผันผวนและมีทิศทางแข็งค่าขึ้น ต้นทุนค่าขนส่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอัตราค่าระวางเรือ รวมถึงปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภค”




ดร.เจริญ แก้วสุกใส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในด้านการส่งออก ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการค้นหาและกลั่นกรองลูกค้าที่มีศักยภาพทั้งในตลาดเดิมและตลาดใหม่ๆ เพื่อ
ขยายโอกาสของสินค้าอาหารไทยในอนาคต ขณะเดียวกันก็ต้องหันกลับมามองตลาดในประเทศด้วยว่าปัจจุบันมีสินค้าอะไรบ้างที่กำลังถูกเบียดแย่งส่วนแบ่งตลาดจากสินค้านำเข้า โดยเฉพาะกลุ่มทุนจากประเทศจีนที่รุกหนักมากทั้งธุรกิจ
ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ที่เชื่อมโยงไปสู่สินค้าเกี่ยวเนื่อง ตัวอย่างเช่น เครื่องปรุงรส เครื่องดื่มชนิดต่างๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ผักและผลไม้อบแห้ง ขนมขบเคี้ยวต่างๆ เป็นต้น ซึ่งตลาดอาหารในประเทศไทยถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพทั้งมิติของตลาดในกลุ่มผู้บริโภคชาวไทยที่มีมากถึง 65 ล้านคน และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคนต่อปี จึงเป็นที่หมายปองของหลายๆ ประเทศ




ดังนั้น การบรรลุเป้าหมายด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และความยั่งยืนของสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีมาตรการติดตามและเฝ้าระวังสินค้าอาหารและเครื่องดื่มจากจีน รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่เข้ามาทำตลาดในประเทศ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยต้องมีกลยุทธ์ในการปรับตัวรับสภาวะการแข่งขันดังกล่าว ทั้งในด้านการ
ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนสินค้า การรักษาคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยอาหาร การมุ่งเน้นการผลิตสินค้าตามที่ตลาดต้องการ ตลอดจนการเฟ้นหาลูกค้าและตลาดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ทางธุรกิจเหล่านี้เชื่อว่าจะ
มีส่วนสำคัญช่วยให้สินค้าอุตสาหกรรมอาหารของไทยสามารถแข่งขันกับสินค้าต่างชาติได้ทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก



ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกยังมีความผันผวนและภาคผลิตของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งการส่งออกอาหารไทยยังมีปัจจัยจากแรงกดดันเรื่องต้นทุนค่าระวางเรือ ส่งผลให้ผู้นำเข้าปลายทางชะลอการนำเข้าโดยตรง ประกอบกับสินค้าที่ประเทศจีนสามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก ส่งผลทำให้ตลาดต่างๆ อยู่ในภาวะการแข่งขัน
สูง ดังนั้น ยังคงต้องติดตามการตอบโต้ทางการค้าของประเทศปลายทางด้วย


“ประเด็นที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและติดตามใกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องค่าเงินบาทที่ผันผวนอย่างรุนแรง จากมาตรการทางการเงินของประเทศต่างๆ ที่เริ่มมีการลดดอกเบี้ยในหลายประเทศ เบื้องต้นผู้ประกอบการต้องประกันความเสี่ยงค่าเงิน ส่วนในภาพรวมธนาคารแห่งประเทศไทยต้องติดตามนโยบายการเงินของประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด และแก้ไขสถานการณ์ให้ทันเหตุการณ์ไม่ปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งค่าจนไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของการส่งออก
ของประเทศไทยที่ยังเป็นส่วนสำคัญในการชี้ชะตา GDP ของไทยในอนาคต”


สุดท้ายนี้ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภายใต้นโยบาย “Connect-Competitive-
Sustainable” เราได้มุ่งมั่นยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเกษตรและอาหารของไทย โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนโครงการอันส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพธุรกิจเกษตรและอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ อาทิ จัดตั้งศูนย์ประสานงานและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรและอาหาร หรือศูนย์ AFC ร่วมกับภาคีเครือข่าย 28 องค์กร เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าล้นตลาดและราคาตกต่ำให้เกิดเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งได้ร่วมมือกับสถาบันอาหารในการศึกษารูปแบบบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือ และสร้างต้นแบบการบริหารจัดการ Food Valley ในจังหวัดขอนแก่นภายใต้โครงการ Khon Kaen Food Valley Cluster เพื่อขยายผลให้เป็น Role Model ไปในจังหวัดต่างๆ ตลอดจนการรณรงค์บริโภคอาหารโปรตีนทางเลือกในการประชุมภายในองค์กรอย่างน้อย 30% ของมื้ออาหารปกติ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจอาหารจากโปรตีนทางเลือกของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายมูลค่าอุตสาหกรรมอาหารอนาคตของไทย 500,000 ล้านบาทในปี 2570 ซึ่งไม่เพียงตอบโจทย์เป้าหมาย SDGs และ BCG เท่านั้น แต่ยังจะเป็นการจัดการและเพิ่มมูลค่าของ Food waste และ Food loss ในระบบการผลิตอาหารเพื่อความยั่งยืนของเกษตรกรผู้ประกอบการและความยั่งยืนของโลกอีกด้วย

........................................................ 

สปาเกลือ​กังหันทอง จ.เพชรบุรี​

นอกจากเพชรบุรี​จะมีแหล่งท่องเที่ยว​สวยๆบรรยากาศ​ดีๆแล้ว ที่นี่ยังมีสปาที่ขึ้นชื่อเป็นอันดับต้นๆของเมืองไทยและนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากซึ่งถ้ามาเที่ยวเพชรบุรีแล้วไม่ได้แวะถือว่าพลาดอย่างแรง 

สปาเกลือ​กังหันทอง ที่นี่จะทำสปาด้วยเกลือแท้ ใช้ดอกเกลือจริง สปาเกลือ​เป็นที่รู้จักในหลายๆประเทศ แต่สำหรับบ้านเรามีที่ให้บริการสปาเกลือมีไม่มากนัก 
แต่หนึ่งในสปาที่รู้จักอย่างแพร่หลายของต่างชาติคือกังหันทอง ใครแวะมาเที่ยวเพชรบุรีหรือแถวนี้อย่าลืมแวะมาใช้บริการกันนะครับ
ติดต่อ​สอบถาม​รายละเอียด​เพิ่มเติม
Line ID : kanghuntong 
www.kanghuntong.com
Tel: 086-5444473 
Email : kanghuntong@hotmail.com
Bang Kaeo, Ban Laem District, Phetchaburi 76110

#SeaSaltSpa #Spa #SaltFlower #Phetchaburi #สปาเกลือกังหันทอง #สปาเกลือ #กังหันทอง #เพชรบุรี​ #ตะลอนไปทั่ว

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง ร่วมกับ บริษัท คลาวด์ ไนน์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด อยากชวนทุกคนมาร่วมสร้างปรากฏการณ์สีสันแห่งศรัทธา ใจกลางมหานคร 16 17 18 สิงหาคม นี้ ที่ลานด้านหน้า Central

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง ร่วมกับ บริษัท คลาวด์ ไนน์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด อยากชวนทุกคนมาร่วมสร้างปรากฏการณ์สีสันแห่งศรัทธา 
ใจกลางมหานคร 
16 17 18 สิงหาคม นี้ ที่ลานด้านหน้า Central World
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับช่วงเวลา
ที่ทุกศรัทธาเต็มเปี่ยมไปด้วย 
Lifestyle สุด Variety 
ฤกษ์งามยามดี ตั้งแต่ 10.00 น. - 21.00 น.   
คอม “มู” นิตี้  
ร่ายมนต์สีสันจากแบรนด์ดังสายมู ทั้ง สินค้า เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของใช้แฟชั่น ของเล่น ของสะสม ร้านอาหาร บูธเกมส์ บูธถ่ายรูป TATTOO 

ปัง “มู” ริเย่   
เบิกเนตร How to วิถีแห่งศรัทธาจากผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหญ่และรุ่นใหม่สายศรัทธา ทั้ง ดูดวง โหงวเฮ้ง ฮวงจุ้ย ลายเซ็น ยันต์ ตัวเลข และแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวสายศรัทธา รวมถึงนิทรรศการ 117 เกจิแห่งสยาม 

“มู” มิว สิค  
ปลุกเสก แสง สี แห่งความสนุกกับเหล่าศิลปินที่พร้อมมอบพลังแห่งความสุข  ทั้ง ป๊อบ ปองกูล  ส้ม มารี  เก่ง ธชย และ DiDi x DaDa   
พิเศษสุด !!  
แจกฟรี Wallpaper Limited Edition
รุ่น Full Moo กูต้องรวย !!  
จาก สำนัก อ.ไพโรจน์ รื่นวิชา 
3 วัน 3 สไตล์  
ติดตามรายละเอียด 
Facebook  IG : Full Moo Festival
Line : @fullmoofestival

#FullMooFestival #สีสันแห่งศรัทธา #ท่องเที่ยวสายศรัทธา #Centralworld #Festival #เทศกาล #ศรัทธา #Arttoys #Bearbrick #Artgallery #การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย #Cloud9inc #หัวแก้วหัวแหวน #ปังมากนะ #CentralWorld #ตะลอนไปทั่ว

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2567

วัดมหาธาตุวรวิหาร

หนึ่งในวัดสำคัญที่สุดของจังหวัดเพชรบุรีและเป็นวัดเก่าแก่ที่สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เนื่องจากมีการค้นพบโบราณวัตถุสมัยนั้นจำนวนมากภายในบริเวณวัด
ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปประธานทรงราชาภรณ์ นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 8 นิ้ว หัตถ์ซ้ายถือพัดที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อวัดมหาธาตุ พระพุทธรูปส่วนใหญ่ เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย​
พิกัด : https://maps.app.goo.gl/qjiJ27NxFAB7kT8H9
#วัดมหาธาตุวรวิหาร #ตะลอนไปทั่ว #เพชรบุรี​ #ททท 

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567

กิจกรรมสุดน่ารักสำหรับ "คู่รักแม่ลูก" ตัวติดหนึบ ! 🥰🩵


ททท.สำนักงานสมุทรสงคราม ร่วมเฉลิมฉลอง 20 ปี ตลาดน้ำอัมพวา จัดกิจกรรม "สิงหาพาแม่เที่ยว" เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสงคราม ช่วงวันแม่แห่งชาติ 2567 พร้อมส่งมอบความสุขและประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่า กับกิจกรรมนั่งเรือ ฟรี !! ตลอดวันหยุดยาว 3 วัน ระหว่างวันที่ 10-12 สิงหาคม นี้ 
โดยท่านสามารถลงทะเบียน รับคูปองนั่งเรือ ฟรี ‼️ได้ที่ ร้านชานชาลาโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ 📍พิกัด : https://maps.app.goo.gl/c1YvHTf2hbnSw8pn6 
✅เพียงแสดงหลักฐานการเข้าพักค้างระหว่างวันที่ 10-12 สิงหาคม 2567 จากที่พัก โรงแรม/รีสอร์ท และใบเสร็จค่าอาหาร จากร้านอาหารที่ใดก็ได้ในจังหวัดสมุทรสงคราม รวมมูลค่า 1,000 บาทขึ้นไป ก็สามารถรับคูปองนักเรือเที่ยวอัมพวาได้แบบฟรีๆ กับ 11 ท่าเรือ ที่เร่วมกิจกรรม ณ ตลาดน้ำอัมพวา ดังนี้ 

1. ท่าเรืออัมพวา                   
โทร 087-409-9254
2. ท่าเรือคุณย่า                    
โทร 081-557-0824
3. ท่าเรือศิริโรจน์                  
โทร 081-732-7120
4. ท่าเรือชุมชนวัดอัมพวัน      
โทร 081-422-0726
5. ท่าเรือเทศบาล 2              
โทร 090-299-2256
6. ท่าเรือชมรมคนรักอัมพวา   
โทร 089-415-4523
7. ท่าเรือจ่าภิญโญ                
โทร 084-085-7544
8. ท่าเรือพรประภา                
โทร 092-558-8845
9. ท่าเรือปรางทอง                
โทร 087-341-4856
10. ท่าเรือริมเขื่อนอัมพวา      
โทร 089-982-6915
11. ท่าเรือนันทพร                 
โทร 086-007-1775
☎️สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานสมุทรสงคราม : TAT Samut Songkhram Office : www.facebook.com/TATSamutSongkhram

#วันแม่แห่งชาติ #สิงหาพาแม่เที่ยว #คู่รักแม่ลูก 
#นั่งเรือเที่ยว #นั่งเรือฟรี #ตลาดน้ำอัมพวา #สมุทรสงคราม #เมืองน่าเที่ยว