วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567

โอกาสสู่ความยั่งยืน ขับเคลื่อนธุรกิจแห่งอนาคตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

โอกาสสู่ความยั่งยืน ขับเคลื่อนธุรกิจแห่งอนาคตด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว)


(กรุงเทพฯ) สํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD นําเสนอผลงานการ ศึกษาวิจัย พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับโอกาสและการเตรียมความ พร้อมด้านความรู้ที่สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจ สีเขียว) เพื่อกระจายโอกาสสู่ชุมชนและลดความเหลื่อมล้ํา ในแบบ “ทําน้อย ได้มาก” เพิ่มประสิทธิภาพการ แข่งขันสู่ระดับสากล ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน


ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อํานวยการสํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) กล่าวในการเปิดงาน สัมมนา “โมเดลเศรษฐกิจ BCG :โอกาสทางธุรกิจ Bio-Circular-Green Economy Model : Business Opportunities เมื่อวันศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2567 จัดขึ้น ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ว่า เศรษฐกิจ BCG (Bio- Circular-Green Economy) เป็น โมเดลเศรษฐกิจที่มีบทบาทสําคัญต่ออนาคตของประเทศไทย ด้วยเศรษฐกิจ BCG จะ (1) เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรชีวภาพ พัฒนาสินค้า และบริการด้วยนวัตกรรม ส่งเสริมธุรกิจสีเขียว ดึงดูดนักลงทุน กระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน (2) สร้างรายได้ให้เกษตรกร โดยมุ่งพัฒนาภาคการเกษตร เพิ่มมูลค่าผลผลิต ส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะ เกษตรอินทรีย์ สร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร (3) ช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งลดการปล่อยมลพิษ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Upcycling-Recycling) ลดการสร้างขยะ ฟื้นฟูระบบนิเวศ (4) พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้เกิดสังคมสุขภาพดี เข้าถึงอาหารปลอดภัย (5) สร้างงานสร้างอาชีพในสาขาใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ พลังงานสะอาด ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยให้ รองรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านความรู้และการประกอบอาชีพ และสร้างอนาคตที่ ยั่งยืน จึงเป็นภารกิจของ OKMD ในการเร่งพัฒนาองค์ความรู้ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและเพิ่ม ศักยภาพในภาคธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม


ในการนี้ ทาง OKMD ได้นําเสนอผลการวิจัย ที่ทําการศึกษาทั้งในกลุ่มของประชาชนทั่วไป และกลุ่ม ผู้ประกอบการ SME ทีพบว่า ไม่ว่าจะเป็นในภาคประชาชนหรือภาคธุรกิจ ต่างมีความรู้และรับรู้ว่าเศรษฐกิจ BCG คืออะไร แต่ทว่าในด้านของการนําาไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการนําไปใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตในชีวิตประจําวัน หรือการนําไปใช้ในภาคธุรกิจขนาดย่อมให้เกิดการความสามารถในการแข่งขันหรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพที่จะส่งผลต่อการประกอบการนั้นกลับมีอุปสรรคหลากหลายด้าน โดยเฉพาะการที่ไม่สามารถนําไปปฏิบัติได้เพราะไม่ทราบว่าจะต้องเริ่มจากจุดใด หรือการที่ภาคประชาชนมีความต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐในรูปแบบพาทหรือจัด อบรมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งมุมมองที่คิดว่าการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจ BCG จําเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายที่ภาครัฐควรให้ การสนับสนุนผ่านสถาบันการเงิน หรือแหล่งทุน


นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ภายในงาน ยังได้มีการจัดเวทีเสวนา โดย มีผู้ร่วมเสวนาเป็นตัวแทนนักวิชาการ และตัวแทนของผู้ประกอบการที่ประสบความสําเร็จในการดําเนินธุรกิจตาม แนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งวิทยากรต่างให้ความเห็นว่าโอกาสทางธุรกิจในระบบเศรษฐกิจ BCG ส่งผลดีต่อ ผู้ประกอบการ และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจนําเศรษฐกิจ BCG ไปปรับใช้ในการยกระดับคุณภาพ ชีวิตหรือใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน โดยผู้ประกอบการจะต้องไม่กังวลต่อการนําไปใช้ เพราะ การดําเนินธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจ BCG นั้น เป็นแนวปฏิบัติที่กลมกลืนไปกับวิถีชีวิต ให้ความห่วงใยกับ สุขภาพ สังคม และธรรมชาติ ไม่มีสูตรสําเร็จ เนื่องจากธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ควรแสวงหาความรู้ ลงมือทําก่อน แล้วจึงค่อยปรับใช้ให้เหมาะกับธุรกิจของตนเอง


สํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD คาดหวังว่าหลังจากการเปิดเผย ผลการวิจัย และการแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับโอกาสและการเตรียมความพร้อมด้านความรู้เกี่ยวกับโมเดล เศรษฐกิจ BCG ในครั้งนี้ จะทําให้ผู้ประกอบการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง OKMD เองก็เร่ง พัฒนาทั้งองค์ความรู้สู่ภาคประชาชน และภาคธุรกิจ ตลอดจนมุ่งแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานที่เป็น
พันธมิตร เพื่อให้เกิดความร่วมมือในอันที่จะช่วยสนับสนุนและผลักดันให้ผู้ประกอบการและประชาชนได้เกิด “ความพร้อม” ต่อการปรับตัวเข้าสู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นการกระจายโอกาส ลดความเหลื่อมล้ํา และช่วยสร้าง แรงบันดาลใจในการต่อยอดขยายผล พัฒนาสู่ความยั่งยืนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น